อาหารมงคลของญี่ปุ่นที่นิยมทานในช่วงวันปีใหม่เรียกว่า “โอเซจิเรียวริ” (お節料理 / Osechi Ryōri) เป็นอาหารที่จัดใส่กล่องไม้หลายชั้น (คล้ายเบนโตะ) เรียกว่า “จูบะโกะ” (重箱 / Jubako) โดยแต่ละชนิดจะมีความหมายมงคล สื่อถึงคำอวยพรสำหรับปีใหม่ เช่น สุขภาพดี ความมั่งคั่ง อายุยืน หรือความเจริญในหน้าที่การงาน ฯลฯ ซึ่งชาวญี่ปุ่นนั้น นิยมรับประทานกันในวันที่ 1-3 มกราคมของทุกปีค่ะ
IMG By : https://www.oisix.com/
ประเพณีการรับประทานโอเซจินี้ เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยเอโดะหรือราว 400 กว่าปีก่อน อาหารแต่ละอย่างถูกจัดเรียงอยู่ในกล่อง “จูบะโกะ” เพื่อเก็บไว้ให้ทานได้ถึง 3 วัน และยังเป็นช่วงเวลาที่เหล่าแม่บ้านญี่ปุ่น จะได้หยุดพักหลังจากการดูแลคนในครอบครัวมาทั้งปีอีกด้วยค่ะ แต่ก่อน แม่บ้านญี่ปุ่นจะออกไปจ่ายตลาดแล้วทำโอเซจิเตรียมไว้เพื่อรับประทานร่วมกันเมื่อเริ่มวันใหม่ของปี คนในครอบครัวจะได้รับประทานอาหารรสมือแม่ แต่ในปัจจุบัน โอเซจิมีจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป หรือตามร้านอาหารหลายแห่งก็พร้อมรับออร์เดอร์อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าหรือคุณแม่บ้านเพื่อย่นระยะเวลาเตรียมอาหาร แม้แต่ในกรุงเทพฯ ก็มีร้านอาหารญี่ปุ่นบางแห่งรับสั่งจองเมนูโอเซจิด้วยเหมือนกันนะ
ดูรายละเอียดบัตร JR Pass ได้ที่นี่
จองโรงแรมได้ที่ |
||
---|---|---|
![]() |
![]() |
จองที่ HOTELS.com |
![]() |
![]() |
จองที่ EXPEDIA |
![]() |
![]() |
จองที่ AGODA |
![]() |
![]() |
จองที่ BOOKING.COM |
สารบัญ
ที่มาของชื่อ “โอเซจิเรียวริ” (お節料理 / Osechi Ryōri)
ที่มาของชื่อ “โอเซจิเรียวริ” นั้น คำว่า “โอเซจิ” มาจากชื่อของพิธีที่เรียกว่า “โกะเซกกุ” (御節供 หรือ おせちく) ซึ่งเป็นพิธีที่จัดขึ้นในราชสำนักสมัยเฮอัน (ประมาณพันปีก่อน)
เดิมที “โอเซจิ” หมายถึงอาหารที่นำไปถวายเทพเจ้าในช่วงเทศกาลพิเศษ 5 วันของปี ได้แก่
• วันที่ 7 มกราคม (วันแห่งการขอพรให้สิ่งดีๆเข้ามาตลอดทั้งปี)
• วันที่ 3 มีนาคม (เทศกาลตุ๊กตา)
• วันที่ 5 พฤษภาคม (วันเด็กผู้ชาย)
• วันที่ 7 กรกฎาคม (วันทานาบาตะ)
• วันที่ 9 กันยายน (เทศกาลดอกเบญจมาศ)
แต่ต่อมาการเฉลิมฉลองในวันขึ้นปีใหม่ (วันปีใหม่ญี่ปุ่น) กลายเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คำว่า “โอเซจิ” จึงเริ่มหมายถึง อาหารสำหรับฉลองปีใหม่ อย่างที่เราเข้าใจกันในปัจจุบันนั่นเองค่ะ
อาหารแห่งความโชคดี กินแล้วแฮปปี้ตลอดปี
“โอเซจิเรียวริ” หรืออาหารสำหรับเฉลิมฉลองปีใหม่ของญี่ปุ่นนั้น แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ “อาหารเฉลิมฉลอง (祝い肴)”, “อาหารเรียกน้ำย่อย (口取り)”, “ของย่าง (焼き物)”, “ของดอง/ของเปรี้ยว (酢の物)” และมักจะปิดท้ายด้วย “ของต้ม (煮しめ หรือ 煮物)” ต่อไปนี้คือรายการอาหาร “โอเซจิเรียวริ” ยอดนิยมพร้อมความหมายของแต่ละอย่าง ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลยค่า !
หมวดหมู่ อาหารทานเล่น, เมนูเรียกน้ำย่อย (祝い肴、口取り)
คุโรมาเมะ (黒豆) – ถั่วดำหวาน
ถั่วดำมีรสชาติหวาน และเป็นตัวแทนของการมีสุขภาพดี แข็งแรง ขยันขันแข็งตลอดปี
เช่น “สามารถทำงานอย่างขยันขันแข็ง” และ “สามารถทำงานได้อย่างมีพลัง” เชื่อกันว่าสีดำสามารถปัดเป่าวิญญาณชั่วร้ายได้
คำว่า “มาเมะ” (豆) แปลว่า “ถั่ว” แต่ยังพ้องเสียงกับคำว่า “ขยัน” อีกด้วย
คาซุโนะโกะ (数の子) – ไข่ปลาเฮอริ่ง
คาซุโนะโกะ คือ ไข่ปลาเฮอริ่งเค็มหรือไข่ปลาเฮอริ่งแห้ง การเห็นไข่จำนวนมากเรียงกัน นั่นหมายถึง “จะมีลูกหลานมากมาย” และ “ลูกหลานที่เจริญรุ่งเรือง” ปลาเฮอริ่งมีความเกี่ยวข้องกับพ่อแม่ทั้งสองคน และผู้คนต่างอธิษฐานให้พ่อแม่ทั้งสองมีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว
คำว่า “คาสุ” (数) แปลว่า “จำนวน” และ “โนะโกะ” (の子) แปลว่า “ลูกหลาน”
โกโบมากิ หรือ ทัตสึคุริ (田作り) – ปลาซาร์ดีนตัวเล็กเคลือบน้ำตาลถั่วเหลือง
ปลาตะกูริ คือ ปลาซาร์ดีนที่ถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยในการไถนา และเชื่อกันว่าการทำเช่นนี้จะทำให้ทุ่งนามีการเก็บเกี่ยวที่ดี ดังนั้นพิธีกรรมนี้ จึงจัดขึ้นเพื่ออธิษฐานให้มีการเก็บเกี่ยวที่ดี พืชผลงอกงาม เนื่องจากมีหัวและหางติดอยู่จึงถือเป็นสิ่งมงคล เดิมใช้ปลาซาร์ดีนใส่ปุ๋ยในนา จึงสื่อถึงความอุดมของพืชผลค่ะ
ทาทากิโกะโบ (たたきごぼう)
โกะโบ เป็นผักชนิดหนึ่งของญี่ปุ่นค่ะ นิยมเอาส่วนรากมาทาน รากของโกะโบจะทอดยาวฝังแน่นลงไปในดิน ใช้สื่อความหมาย การอธิษฐานให้รากฐานของครอบครัวแข็งแรงหรือกิจการของครอบครัวประสบความสำเร็จ
คามาโบโกะ (蒲鉾) – ลูกชิ้นปลาสีแดงขาว
คามาโบโกะ มีรสชาติเบาบาง เหมาะสำหรับใช้ล้างปาก มีการกล่าวกันว่า รูปทรงของ คามาโบโกะ นั้น เป็นรูปร่างครึ่งพระจันทร์ คล้ายกับพระอาทิตย์ขึ้นครั้งแรกของปี ทำให้เป็นเมนูที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเฉลิมฉลองปีใหม่ รูปทรงโค้งคล้ายพระอาทิตย์ขึ้น หมายถึงการเริ่มต้นใหม่ที่ดี สีแดงและสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของความสุขและการปกป้องจากความชั่วร้าย ในขณะที่สีขาวหมายถึงความศักดิ์สิทธิ์และความบริสุทธิ์
ดาเตะมากิ (伊達巻) – ไข่ม้วนผสมปลาบด
ดาเตะมากิ คือ อาหารรสหวานนุ่มที่ทำจากไข่ ในจังหวัดนางาซากิ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดนั้น เชื่อกันว่าเรียกกันว่า “คาสเทลลา คามาโบโกะ” และได้รับชื่อใหม่ว่า “ดาเตะมากิ” เนื่องจากมีลักษณะเหมือนกิโมโน “ดาเตะโมโนะ” เนื่องจากมีลักษณะเหมือนม้วนเอกสารสมัยก่อน จึงเต็มไปด้วยความหมายแห่งความสำเร็จทางการศึกษา ความรู้ ความฉลาด การเรียนรู้ดี
เรียนคงบุมากิ (昆布巻き) – สาหร่ายม้วนพันปลา
เรียนคงบุมากิ คือ อาหารที่ทำโดยการห่อปลาหรือส่วนผสมอื่นๆ ด้วยสาหร่ายทะเล ใช้ตัวอักษรมงคล “โยโรโคบุ” (มีความสุข) และ “โคเซอิ” (เกิด) ซึ่งมีความหมายว่า ขอให้มีความเยาว์วัยนิรันดร์ อายุยืนยาว และความเจริญรุ่งเรืองของลูกหลาน นอกจากนั้น ยังสื่อถึงความผูกพันธ์เหนียวแน่นของครอบครัว
คุริคิงตัน (栗きんとん) – เกาลัดบดหวานกับมันหวาน
คุริคิงตัน คือ อาหารที่ทำจากเกาลัดปรุงรสหวาน เกาลัดถือเป็นอาหารที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขา และยังเป็นที่รู้จักในชื่อ “เกาลัดชนะเลิศ” ซึ่งเป็นอาหารที่เป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ สีทองอร่ามของมันถูกเชื่อกันว่าจะนำโชคลาภด้านเงินทองมาให้ จึงมีความหมายถึง ความร่ำรวย และ ทรัพย์สินเงินทอง
(สีทองของคุริคิงตันนั้นสื่อถึงทองคำ)
โจะโระกิ (長老喜) – อาร์ติโชก (พืชเมืองหนาวชนิดหนึ่ง)
เป็นพืชชนิดหนึ่ง มีหัวอยู่ใต้ดิน (หัวคล้ายขิงหรือมันเล็ก ๆ) เมื่อดองหรือเชื่อมแล้วจะมีรสหวานอมเปรี้ยว สีที่พบทั่วไปคือสีแดง (เพราะดองในน้ำบ๊วยแดง) แต่ก็มีสีขาวเช่นกัน รูปร่างบิดเป็นเกลียวคล้ายเปลือกหอย คำว่า (長老喜) แปลตามตัวคือ “ผู้อาวุโสที่มีความสุข” จึงมีความหมายถึงการมีอายุยืนและความสุขในวัยชรา นอกจากนี้ รูปร่างเกลียวๆ ยังสื่อถึง “ความโชคดีที่ต่อเนื่อง” หรือ “การเจริญรุ่งเรือง”
ดูรายละเอียดบัตร JR Pass ได้ที่นี่
จองโรงแรมได้ที่ |
||
---|---|---|
![]() |
![]() |
จองที่ HOTELS.com |
![]() |
![]() |
จองที่ EXPEDIA |
![]() |
![]() |
จองที่ AGODA |
![]() |
![]() |
จองที่ BOOKING.COM |
หมวดหมู่ ของย่าง (焼き物)
ไทโนะชิโอะยากิ (鯛の塩焼き) – ปลากะพงแดงย่างเกลือ
ปลาไท คือ ปลาชนิดหนึ่งในอันดับปลากะพง มีราคาแพง ถือเป็นอาหารประจำงานเลี้ยงฉลองและงานมงคล ชื่อคล้องกับคำว่า เมเดไท (medetai : めでたい) ที่แปลว่าน่ายินดีมีมงคล เป็นปลามงคลในทุกเทศกาลค่ะ
บุริ (鰤) – ปลาหางเหลือง
ปลาหางเหลือง เป็นปลาที่มักเสิร์ฟพร้อมซอสเทอริยากิในอาหารวันปีใหม่ ปลาหางเหลืองเป็นที่รู้จักในชื่อ “ปลาแห่งความสำเร็จ” ที่มีชื่อเรียกต่างกันตามขนาดตัวค่ะ มีความหมายว่าขอให้ได้เป็นใหญ่เป็นโต
เอบิ (海老) – กุ้ง
กุ้ง ผู้มีหนวดยาวและหลังโค้ง เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว (เปรียบว่าแก่จนหลังงอเหมือนกุ้ง) เพราะยิ่งหลังโค้งมากเท่าไหร่ อายุก็จะยิ่งยืนยาวมากขึ้นเท่านั้น ดวงตาที่โปนออกมาเป็นสิริมงคล และการผลัดตาซ้ำๆกัน หมายถึงการเกิดใหม่ และ ความมั่งมีศรีสุข อีกด้วย
อิคุระ (イクラ) – ไข่ปลาแซลมอน
ไข่ปลาแซลมอน ได้รับฉายาว่า “อัญมณีสีแดง” อิคุระกลายมาเป็นส่วนผสมมาตรฐานในอาหารวันปีใหม่ของญี่ปุ่น อิคุระ ซึ่งเพิ่มความสวยงามให้กับจานอาหารโอเซจิ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคลสำหรับความเจริญรุ่งเรืองของลูกหลาน เช่นเดียวกับไข่ปลาแซลมอน และยังเป็นตัวแทนของความปรารถนาที่จะ “มีลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง” อีกด้วย
หมวดหมู่ ของดอง/ของเปรี้ยว (酢の物)
นามาซุ (紅白なます) – หัวไชเท้าและแครอทดองในน้ำส้ม
นามาซุ คือ ไช้เท้าและแครอทหั่นฝอยดองด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำตาล อันนี้เป็นการแทนสีแดงขาวของ มิซุฮิกิ เชือกกระดาษสำหรับตบแต่งซองจดหมายและของขวัญ เป็นการอธิษฐานให้ครอบครัวมีความสงบสุข และ การอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว
เร็งคง (れんこん) – รากบัว
รากบัวหมักน้ำส้มสายชูเป็นเมนูชื่นใจที่สามารถรับประทานได้โดยผสมเครื่องปรุงรสต่างๆ รากบัวมีรูทำให้สามารถมองเห็นอนาคตได้ ดังนั้นการรับประทานรากบัวในช่วงปีใหม่จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังในอนาคตที่สดใส
คิคุกะคาบุ (菊花かぶ) – หัวผักกาดดอกเบญจมาศ
คิคุกะคาบุ คือ อาหารที่ทำจากหัวผักกาดที่หั่นเป็นรูปดอกเบญจมาศแล้วแช่ในน้ำส้มสายชูหวาน สามารถย้อมสีแดงเพื่อให้เป็นสีแดงและสีขาว และเนื่องจากดอกเบญจมาศใช้ในการเฉลิมฉลอง จึงหมายถึง ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง และสุขภาพที่ดี นั่นเองค่ะ
ดูรายละเอียดบัตร JR Pass ได้ที่นี่
จองโรงแรมได้ที่ |
||
---|---|---|
![]() |
![]() |
จองที่ HOTELS.com |
![]() |
![]() |
จองที่ EXPEDIA |
![]() |
![]() |
จองที่ AGODA |
![]() |
![]() |
จองที่ BOOKING.COM |
หมวดหมู่ ของต้ม (煮物)
โอะโซนิ (お雑煮) – ซุปปีใหม่กับโมจิ
ซุปใส่โมจิ (เสิร์ฟในถ้วยคล้ายซุปมิโซะ) ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ในซุปมีเครื่องมากมาย แต่มีสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ “โมจิ”
ในอดีต เมื่อใกล้วันสิ้นปี ทุกครอบครัวจะทุบแป้งโมจิ ปั้นเป็นก้อน เตรียมไว้ถวายเทพแห่งการเกษตร เพื่อขอให้พืชที่ปลูกอุดมสมบูรณ์และช่วยคุ้มครองคนในครอบครัว ดังนั้น เมื่อถึงวันปีใหม่ ทุกคนในครอบครัวจะรับประทานโมจิร่วมกับเทพเจ้าที่อยู่ในรูปแบบโอะโซนิ เป็นอาหารมงคล กินแล้วจะโชคดีนั่นเองค่ะ
ซาโตะอิโมะ (里芋) – เผือก
เผือกมักรับประทานเป็นทั้งเครื่องเคียงและส่วนผสมหลักในอาหารประเภทต้ม เผือกซาโตะอิโมะของญี่ปุ่นจะมียางเหนียวลื่นอยู่ในเนื้อเป็นเอกลักษณ์ ต่างจากเผือกในไทยที่เนื้อจะแห้งเป็นแป้ง เมื่อเอาเผือกไปปลูก จากหัวเดียวจะแตกหัวย่อยออกมาเรื่อยๆ สื่อถึงการอธิษฐานให้มีลูกหลานเยอะ และยังเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองของลูกหลาน รูปทรงกลมเป็นตัวแทนของความสามัคคีในครอบครัว
ชิคุเซนนิ (筑前煮)
ชิคุเซนนิ คือ อาหารที่ทำโดยการต้มไก่พร้อมกับผักรากต่างๆมากมาย เช่น รากบัวและแครอท เนื่องจากส่วนผสมหลายอย่างเคี่ยวรวมกันอยู่ในหม้อเดียว จึงแสดงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในครอบครัว
นานะคุสะกายุ (七草粥) – ข้าวต้มสมุนไพร 7 ชนิด
หลังฉลองกันอย่างสนุกสนานเต็มที่ เมื่อเข้าสู่วันที่ 7 หลังเทศกาลปีใหม่ ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานข้าวต้มสมุนไพรจากพืช 7 ชนิด ทั้งช่วยปรับสภาพกระเพาะอาหารหลังอิ่มหมีพีมันกับอาหารและเครื่องดื่มมากมายอยู่หลายวัน อีกทั้งยังเชื่อว่าช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บจากสภาพอากาศหรือไม่ทำให้เป็นหวัดด้วย
สมุนไพรทั้ง 7 ชนิดที่ใส่ในข้าวต้ม มีสรรพคุณดีๆ มากมาย ช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนเลือด ระบบขับถ่าย ลดอาการไอ ขับเสมหะ ระบบการย่อยอาหาร อุดมไปด้วยสารอาหาร กินแล้วหายป่วยเป็นปลิดทิ้งนอกจากจะนิยมใช้พืช 7 ชนิด ซดพร้อมข้าวต้มร้อนๆให้คล่องคอที่ว่านี้แล้ว คนญี่ปุ่นยังเชื่อว่าเลข 7 คือลักกี้นัมเบอร์ กิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเลข 7 จึงถือว่าเป็นเรื่องดีๆ ทั้งนั้นเลย
ดูรายละเอียดบัตร JR Pass ได้ที่นี่
จองโรงแรมได้ที่ |
||
---|---|---|
![]() |
![]() |
จองที่ HOTELS.com |
![]() |
![]() |
จองที่ EXPEDIA |
![]() |
![]() |
จองที่ AGODA |
![]() |
![]() |
จองที่ BOOKING.COM |
นี่คือส่วนหนึ่งของอาหารที่อยู่ในชุดโอเซจิ ยังมีอีกหลายอย่างมาก และบางพื้นที่บางภูมิภาคก็อาจมีอาหารพิเศษเฉพาะเป็นของตัวเองด้วยค่ะ
พอใกล้ถึงเดือนธันวาคม ตามห้างหรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อก็จะออกโฆษณาเปิดรับสั่งจองชุดโอเซจิกันล่วงหน้า พอไปซูเปอร์มาร์เก็ตก็มีขายคุริคิงตัน คมบุมากิ และอาหารสำหรับใส่ในโอเซจิให้เลือกมากมาย ซึ่งก็เป็นโอกาสดีสำหรับชาวต่างชาติอย่างเรา ที่อยากลองทานโอเซจิดูบ้างเพราะหาซื้อหาลองได้ง่าย ถ้าเพื่อนๆได้มีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่นช่วงปีใหม่พอดีก็ลองไปซื้อมาชิมกันได้นะคะ